เมนู

เป็นต้น. ศีลทุกอย่างท่านประสงค์ว่าศีลในที่นี้. บทว่า สัญฺญโมได้แก่
ความสำรวม ท่านอธิบายว่า การห้ามใจไปในอารมณ์ต่าง ๆ คำนี้ เป็นชื่อของ
สมาธิ ที่บุคคลประกอบแล้ว ท่านเรียกว่าผู้สำรวมสูงสุด ในบาลีนี้ว่า หตฺถ-
สญฺญโต ปาทสญฺญโต วาจาสญฺญโต สญฺญตุตฺตโม
ผู้สำรวมมือ สำรวม
เท้า สำรวมวาจา ชื่อว่าผู้สำรวมสูงสุด. อาจารย์อีกพวกกล่าวว่าความสำรวม ท่าน
อธิบายว่า ความระวัง ความสังวร คำนี้ เป็นชื่อของอินทรีย์สังวร. ความฝึกฝน
ชื่อว่า ทมะ ท่านอธิบายว่า การระงับกิเลส คำนี้เป็นชื่อของปัญญา. จริงอยู่
ปัญญาในบาลีบางแห่งเรียกว่า ปัญญา ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สุสฺสูสํ
ลภเต ปญฺญํ
ผู้ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา บางแห่งท่านเรียกว่า ธรรมะ ใน
ประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ
บางแห่งท่านเรียกว่า ทมะ ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ยทิ สจฺจา ทมา
จาคา ขนฺตยาภิยฺโย น วิชฺชติ
ผิว่า ธรรมยิ่งกว่าสัจจะ ทมะ จาคะ
ขันติ ไม่มีไซร้.
บัณฑิตรู้จักทานเป็นต้น อย่างนี้แล้ว พึงประมวลมาทราบความแห่ง
คาถานี้ อย่างนี้ว่า ขุมทรัพย์ที่สำเร็จด้วยบุญของผู้ใด เป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็
ตาม เขาจะเอาธรรมะ 4 เหล่านี้คือ ทาน ศีล สัญญมะ ทมะที่ฝังไว้ดีแล้ว
ด้วยการทำธรรมทั้ง 4 มี ทานเป็นต้น เหล่านั้นไว้ด้วยดี ในจิตสันดานเดียว
หรือในวัตถุมีเจดีย์เป็นต้น เหมือนขุมทรัพย์ที่สำเร็จด้วยธนชาต เขาก็เอาเงิน
ทอง มุกดา มณี ฝังไว้ ด้วยการใส่เงินทองเป็นต้นเหล่านั้น ลงในเดียวกัน
ฉะนั้น.

พรรณนาคาถาที่ 7


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่บุญสัมปทาเป็นขุมทรัพย์
โดยปรมัตถ์ ด้วยคาถานี้ว่า ยสฺส ทาเนน เป็นต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อทรง
แสดงวัตถุที่ขุมทรัพย์อันบุคคลฝังแล้ว ชื่อว่าฝังไว้อย่างดี จึงตรัสว่า